หลักสูตรนวัตกรรมชีวผลิตภัณฑ์

ข้อมูลทั่วไปหลักสูตร

ชื่อสถานบันอุดมศึกษา :

มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี

คณะ :

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

1.ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

    ภาษาไทย ชื่อเต็ม : วิทยาศาสตรบัณฑิต (นวัตกรรมชีวผลิตภัณฑ์)
              ชื่อย่อ : วท.บ. (นวัตกรรมชีวผลิตภัณฑ์)
    ภาษาอังกฤษ ชื่อเต็ม : Bachelor of Science (Bioproducts Innovation)
              ชื่อย่อ : B.Sc. (Bioproducts Innovation)

2.วิชาเอก

ไม่มี

3.จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร

จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 123 หน่วยกิต

4.รูปแบบของหลักสูตร

    5.1 รูปแบบ
              เป็นหลักสูตรระดับคุณวุฒิปริญญาตรี หลักสูตร 4 ปี
    5.2 ประเภทหลักสูตร
              เป็นหลักสูตรปริญญาตรีทางวิชาการ
    5.3 ภาษาที่ใช้
              ภาษาไทย
    5.4 การรับเข้าศึกษา
              รับนักศึกษาไทย และนักศึกษาต่างชาติที่ใช้ภาษาไทยได้เป็นอย่างดี
    5.5 ความร่วมมือกับสถาบันอื่น
              เป็นหลักสูตรเฉพาะของมหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี
    5.6 การให้ปริญญาแก่ผู้สำเร็จการศึกษา
              ให้ปริญญาเพียงสาขาวิชาเดียว

5.สถานภาพของหลักสูตรและการพิจารณาอนุมัติ/เห็นชอบหลักสูตร

     หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2564 เริ่มใช้หลักสูตรนี้ตั้งแต่ ภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2564
     สภาวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี ให้ความเห็นชอบหลักสูตรในการนำเสนอหลักสูตรต่อสภามหาวิทยาลัยในการประชุมครั้งที่ 6/2563 เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2563
     สภามหาวิทยาลัยมหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานีอนุมัติหลักสูตร ในการประชุมครั้งที่ 8/2563 เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 6 สิงหาคม 2563

6.ความพร้อมในการเผยแพร่หลักสูตรที่มีคุณภาพและมาตรฐาน

    ความพร้อมในการเผยแพร่หลักสูตรที่มีคุณภาพและมาตรฐานตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552 ในปีการศึกษา พ.ศ. 2566

7.อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

    7.1 ผู้ประกอบการหรือเจ้าของธุรกิจด้านผลิตภัณฑ์ชีวภาพ ได้แก่ ด้านอาหาร อาหารสุขภาพ ตลอดจนธุรกิจทางด้านอุตสาหกรรมเกษตร การแปรรูปผลิตภัณฑ์ หรือบริษัทธุรกิจทางเทคโนโลยีชีวภาพอาหารทุกประเภท
    7.2 นักวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ในสถานประกอบการ อุตสาหกรรมด้านธุรกิจอาหารหรือที่เกี่ยวข้อง ในหน่วยงานราชการและเอกชน
    7.3 เจ้าหน้าที่ควบคุมคุณภาพในสถานประกอบการ อุตสาหกรรมด้านธุรกิจอาหาร ในหน่วยงานราชการและเอกชน
    7.4 ตัวแทนฝ่ายขายผลิตภัณฑ์ด้านวิทยาศาสตร์ อาหาร เกษตร และอื่น ๆ
    7.5 ศึกษาต่อในระดับบัณฑิตศึกษา

8.อาจารย์ประจำหลักสูตร

ภาระงานสอน (ชม./สัปดาห์)
ลำดับ ชื่อ-นามสกุล ตำแหน่งวิชาการ คุณวุฒิ-สาขาวิชาเอก สถาบันการศึกษา ปีที่จบ 2560 2561 2562 2563
1 นางนฤมล ธนานันต์ รองศาตราจารย์ วท.ด. (พันธุศาสตร์)
วท.ม. (พันธุศาสตร์)
วท.บ. (เกษตรศาสตร์)
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
วิทยาลัยครูอุดรธานี
2547
2540
2535
12 12 12 12
2 นางสาวพรรณวิภา แพงศรี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ปร.ด. (เทคโนโลยีชีวภาพ)
วท.ม. (เทคโนโลยีชีวภาพ)

วท.บ. (เทคโนโลยีชีวภาพ)
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
2558
2547

2542
12 12 12 12
3 นายวัฒนา อัจฉริยะโพธา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ วท.ม. (เทคโนโลยีชีวภาพ)

วท.บ. (เทคโนโลยีชีวภาพ)
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
2547

2541
12 12 12 12
4 นางดวงเดือน วัฏฏานุรักษ์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ วท.ม.(เทคโนโลยีชีวภาพ)

วท.บ. (ชีววิทยา) เกียรตินิยมอันดับ2
ปร.ด.(วิทยาศาสตรศึกษา)
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ บางเขน
มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
2544

2536

2564
12 12 12 12
5 นายณฐพงศ์ เมธินธรังสรรค์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ วท.ม. (กีฏวิทยาและสิ่งแวดล้อม)

วท.บ. (ชีววิทยา)
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
2548

2542
12 12 12 12
6 นางสาวปุนยนุช นิลแสง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ Ph.D.(Food Engineering andBioprocess technology )
วท.ม. (เทคโนโลยีชีวภาพ)
วท.บ. (เทคโนโลยีชีวภาพ)
สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย

มหาวิทยาลัยมหิดล
มหาวิทยาลัยมหิดล
2550

2545
2537
12 12 12 12
7 นางสาวจิตติมา กอหรั่งกูล อาจารย์ วท.ม. (เทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม)
วท.บ. (เทคโนโลยีชีวภาพ)
มหาวิทยาลัยมหิดล
มหาวิทยาลัยมหิดล
2547
2543
12 12 12 12
8 นางสาวมัทนภรณ์ ใหม่คามิ อาจารย์ ปร.ด. (พฤกษศาสตร์)
วท.ม.(พฤกษศาสตร์)
วท.บ.(ชีววิทยา)
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
2560
2554
2550
12 12 12 12

ประวัติความเป็นมาของหลักสูตร

1.สถานการณ์ภายนอกหรือการพัฒนาที่จำเป็นต้องนำมาพิจารณาในการวางแผนหลักสูตร


     1.1.สถานการณ์หรือการพัฒนาทางเศรษฐกิจ

                กลุ่มเทคโนโลยีด้านอุตสาหกรรมอาหาร เกษตร และเทคโนโลยีชีวภาพ ได้มีบทบาทมากในเศรษฐกิจระดับประเทศและระดับสากล ซึ่งเป็นหนึ่งในนโยบายที่รัฐบาลให้ความสำคัญในการพัฒนาประเทศ สิ่งที่จะทำให้ “ไทยแลนด์ 4.0” เป็นรูปธรรมได้จริง และสามารถตอบโจทย์การพัฒนาอย่างยั่งยืน ที่เชื่อมโยงกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง จึงมีการคิดโมเดลเศรษฐกิจใหม่ออกมาภายใต้ชื่อ BCG Model ซึ่ง เป็นการบูรณาการการพัฒนาเศรษฐกิจในสามมิติไปพร้อมกัน ได้แก่ B- Bio Economy หรือ เศรษฐกิจชีวภาพ C-Circular Economy หรือเศรษฐกิจหมุนเวียน และ G-Green Economy หรือ เศรษฐกิจสีเขียว จึงจำเป็นต้องมีบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญในการพัฒนานวัตกรรมผลิตภัณฑ์ทางด้านอาหาร การผลักดันให้ BCG Model และนวัตกรรมได้ก้าวไปข้างหน้าอย่างยั่งยืนจะอาศัยหลักการวิจัยและพัฒนาทางวิทยาศาสตร์ และหลักการขององค์ประกอบของโครงสร้างพื้นฐานด้านคุณภาพของประเทศ (National Quality Infrastructure (NQI)) ซึ่งประกอบด้วย 5 ส่วน ได้แก่ การมาตรฐาน (standardization) การทดสอบ (testing) การวัด (measurement) การรับรองเป็นลายลักษณ์อักษร (certification) และการรับรองคุณภาพ (accreditation) เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและความสำเร็จที่มากขึ้นแก่ผลิตภัณฑ์ชีวภาพจากฐานทรัพยากรในท้องถิ่นมายกระดับมาตรฐานและเพิ่มขีดความสามารถแข่งขันให้ประเทศในกลุ่มอุตสาหกรรมอาหาร ดังนั้นทางหลักสูตรจึงให้ความสำคัญกับกระบวนการวิจัยและพัฒนาสร้างนวัตกรรมหรือสร้างผู้ประกอบการที่มีความเชี่ยวชาญในกลุ่มชีวผลิตภัณฑ์ ได้แก่ด้าน อาหาร และอาหารเพื่อสุขภาพ เพื่อขับเคลื่อนธุรกิจตั้งแต่การเลือกใช้ทรัพยากรท้องถิ่นที่มีมาตรฐานนำมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ที่เป็นนวัตกรรมทางชีวภาพที่ได้มาตรฐานและปลอดภัยให้เป็นการพัฒนาท้องถิ่น

     1.2.สถานการณ์หรือการพัฒนาทางสังคมและวัฒนธรรม

                หลักสูตรนวัตกรรมชีวผลิตภัณฑ์ได้ออกแบบหลักสูตรมาเพื่อให้ผู้เรียนมีองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์พื้นฐานเพื่อพัฒนาธุรกิจด้านชีวผลิตภัณฑ์ โดยใช้นวัตกรรมและหลักการทางวิทยาศาสตร์ การควบคุมมาตรฐานคุณภาพ รวมถึงสามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้วยทรัพยากรและภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อตอบสนองการขับเคลื่อนนโยบายของมหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานีและประเทศไทย ที่ต้องการให้มีการเชื่อมโยงองค์ความรู้ในมหาวิทยาลัยออกสู่ชุมชนให้เกิดความมั่นคง มั่งคัง และยั่งยืนทั้งด้านเศรษฐกิจ วัฒนธรรม และภูมิปัญญา บัณฑิตจากหลักสูตรจะตอบสนองความต้องการในการพัฒนาประเทศโดยใช้ทรัพยากรที่มีในท้องถิ่นมาใช้ประโยชน์เพื่อสร้างนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ด้านชีวภาพ โดยมีการบริหารและจัดการอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อสร้างความยั่งยืนและเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ในท้องถิ่น นอกจากนี้บัณฑิตยังสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในเชิงธุรกิจ และสามารถนำไปต่อยอดในกลุ่มอุตสาหกรรมอาหาร อาหารเพื่อสุขภาพ หรือเทคโนโลยีชีวภาพ โดยทางหลักสูตรร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการสร้างและพัฒนาผู้ประกอบการให้สามารถสร้างผลิตภัณฑ์เองได้ ได้แก่ ศูนย์บ่มเพาะธุรกิจและผู้ประกอบการ มหาวิทยาราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ที่เป็นหน่วยฝึกปฏิบัติให้แก่ผู้เรียนหรือเป็นหน่วยวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารซึ่งก่อให้เกิดความเชี่ยวชาญและส่งเสริมการขับเคลื่อนธุรกิจให้เท่าเทียมสากล


2.ผลกระทบจาก ข้อ 1.1 และ 1.2 ต่อการพัฒนาหลักสูตรและความเกี่ยวข้องกับพันธกิจของมหาวิทยาลัย


     2.1.การพัฒนาหลักสูตร

                การพัฒนาหลักสูตรนวัตกรรมชีวผลิตภัณฑ์ออกแบบโดยเน้นให้นักศึกษาสามารถพัฒนานวัตกรรมผลิตภัณฑ์ทางด้านอาหาร และอาหารเพื่อสุขภาพ เพื่อการค้าทั้งในระดับชุมชนและอุตสาหกรรม โดยใช้หลักการทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และหลักการของ NQI อีกทั้งยังต้องสามารถวิจัยและพัฒนาเพื่อตอบสนองต่อการแก้ไขปัญหาของท้องถิ่น และเป็นต้นแบบที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาคุณภาพชีวิต และความเข้มแข็งของท้องถิ่น รวมทั้งสามารถปรับเปลี่ยนนวัตกรรมและผลิตภัณฑ์ตามการเปลี่ยนแปลงสถานการณ์ของเศรษฐกิจประเทศไทยและสังคมโลกปัจจุบัน ตลอดจนสามารถพัฒนาตนเองให้เข้ากับลักษณะงานอย่างมืออาชีพ

     2.2.ความเกี่ยวข้องกับพันธกิจของมหาวิทยาลัย

                เป้าหมายของมหาวิทยาลัยต้องการส่งเสริมการวิจัย นวัตกรรมเพื่อพัฒนาท้องถิ่น และมีพันธกิจในการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมเพื่อให้เป็น VRU Innovation Hub ทำให้สาขาวิชาต้องมีการพัฒนาหลักสูตรเพื่อผลิตบัณฑิตที่มีศักยภาพในการคิดค้นและพัฒนานวัตกรรมผลิตภัณฑ์ทางด้านอาหาร และอาหารเพื่อสุขภาพ โดยมีการใช้ห้องปฏิบัติการที่มีมาตรฐานเป็นศูนย์กลางในการเรียนการสอนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อสร้างนวัตกรรมให้เหมาะสมต่อการดำรงชีวิตและการประกอบอาชีพของคนในท้องถิ่น และใช้เทคโนโลยีในการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ ทรัพยากรสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลและยั่งยืน โดยประสานความร่วมมือกับท้องถิ่นเพื่อการถ่ายทอดความรู้และผลงานวิจัยให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้งานได้ในการพัฒนาท้องถิ่นตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตามพันธกิจของมหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ สร้างรายได้และอาชีพต่อไป

ปรัชญา ความสำคัญ และวัตถุประสงค์ของหลักสูตร

ปรัชญา

    มุ่งผลิตบัณฑิตผู้มีความรู้มีความคิดสร้างสรรค์นวัตกรรมจากทรัพยากรชีวภาพ ร่วมมือกับท้องถิ่นแก้ไขปัญหาและเพิ่มทักษะให้ท้องถิ่น เน้นให้นักศึกษามีความรู้แบบบูรณาการโดยใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ผสมผสานระหว่างทฤษฎีควบคู่กับการปฏิบัติเพื่อนำไปต่อยอดในเชิงพาณิชย์


ความสำคัญ

    ธุรกิจและอุตสาหกรรมอาหาร เกษตร และเทคโนโลยีชีวภาพ มีบทบาทอย่างยิ่งในการยกระดับเศรษฐกิจของประเทศ ดังนั้นทางหลักสูตรจึงให้ความสำคัญกับกระบวนการวิจัยและพัฒนา ตลอดจนพัฒนาช่องทางการขับเคลื่อนธุรกิจตั้งแต่การเลือกวัตถุดิบท้องถิ่นที่มีมาตรฐาน กระบวนการขนส่งวัตถุดิบ การเก็บรักษา เพื่อนำมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ที่เป็นนวัตกรรมทางชีวภาพ ได้แก่ ด้านอาหาร และอาหารเพื่อสุขภาพ ที่ได้มาตรฐานและปลอดภัยให้เป็นการพัฒนาท้องถิ่น และส่งผลไปถึงผู้บริโภคได้รับสินค้าที่มีคุณภาพและปลอดภัย รวมถึงการส่งเสริมการตลาด เป็นการเตรียมความพร้อมสู่การเข้าสู่ยุคประเทศไทย 4.0 ที่ต้องการให้กลุ่มอาหาร เกษตร และเทคโนโลยีชีวภาพ มีการเดินหน้าเพื่อพัฒนาเส้นทางธุรกิจและนวัตกรรมชีวภาพอย่างต่อเนื่องอีกทั้งในระดับประเทศยังมีความต้องการบุคคลากรที่มีศักยภาพในการพัฒนาอุตสาหกรรมอาหาร และอาหารเพื่อสุขภาพ เป็นจำนวนมาก

    จากเหตุผลดังกล่าวหลักสูตรนวัตกรรมชีวผลิตภัณฑ์ได้ออกแบบหลักสูตรมาเพื่อให้ผู้เรียนมีองค์ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาธุรกิจอาหาร และอาหารเพื่อสุขภาพ โดยใช้นวัตกรรมและหลักการทางวิทยาศาสตร์ หลักการ NQI รวมถึงสามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้วยทรัพยากรและภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อตอบสนองการขับเคลื่อนนโยบายของมหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี และประเทศไทยในการเตรียมความพร้อมสู่การเข้าสู่ยุคประเทศไทย 4.0 บัณฑิตที่สามารถสร้างนวัตกรรมชีวภาพ และมีการจัดการธุรกิจชีวภาพจึงเป็นส่วนหนึ่งในการเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการทำงานแก่องค์กรและท้องถิ่นเพื่อให้สอดคล้องกับการเจริญเติบโตของภาคอุตสาหกรรมอาหาร อาหารเพื่อสุขภาพ และอุตสาหกรรมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง


วัตถุประสงค์

    หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขานวัตกรรมการชีวผลิตภัณฑ์ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2564) มีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีคุณสมบัติ ดังนี้

    3.1 เป็นบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ในหลักวิชาการพื้นฐานทางนวัตกรรมชีวผลิตภัณฑ์และสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง และสามารถบูรณาการองค์ความรู้ไปใช้ในการสร้างนวัตกรรมชีวผลิตภัณฑ์ หรือสร้างนวัตกรรมชีวผลิตภัณฑ์โดยใช้ทรัพยากรในท้องถิ่นให้เกิดคุณค่า

    3.2 เป็นบัณฑิตที่มีทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 เป็นผู้ประกอบการหรือประกอบอาชีพที่เกี่ยวกับธุรกิจทางด้านอาหาร อาหารเพื่อสุขภาพ หรือในสายงานที่เกี่ยวข้อง มีทักษะการนำทรัพยากรท้องถิ่นมาใช้อย่างมีประสิทธิภาพ

    3.3 เป็นบัณฑิตที่มีบุคลิกภาพดี มีจิตบริการ มีความรับผิดชอบต่อสังคม และสิ่งแวดล้อมมีความพร้อมในการทำงานร่วมกับผู้อื่นและประกอบอาชีพด้วยตนเองได้อย่างยั่งยืน

    3.4 มีคุณธรรมจริยธรรม และปฏิบัติตนให้เป็นประโยชน์แก่สังคมและประเทศชาติและคำนึงถึงผลประโยชน์ส่วนรวมเป็นสำคัญ

แผนปรับปรุง

แผนปรับปรุง/เปลี่ยนแปลง กลยุทธ์ หลักฐาน/ตัวบ่งชี้
1.พัฒนาหลักสูตรให้มีมาตรฐานตามที่ สกอ. กำหนด และสอดคล้องพันธกิจมหาวิทยาลัย 1. ติดตามประเมินหลักสูตรอย่างสม่ำเสมอ
2. พัฒนาหลักสูตรอย่างต่อเนื่อง
1. รายงานผลการประเมินหลักสูตร
2. รายงาน/เอกสารปรับปรุงหลักสูตร
2.พัฒนาอาจารย์ให้มีผลงานด้านนวัตกรรมชีวผลิตภัณฑ์ 1.สนับสนุนให้มีการค้นคว้าวิจัยสร้างนวัตกรรม
2.ส่งเสริมให้มีการจดสิทธิบัตรหรืออนุสิทธิบัตร
3.เผยแพร่ผลงานนวัตกรรมโดยตีพิมพ์เผยแพร่หรือเข้าร่วมเสนอผลงานในการประชุมทางวิชาการทั้งระดับชาติและนานาชาติ
1. ผลงานนวัตกรรมชีวผลิตภัณฑ์
2.ร้อยละของอาจารย์ที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่หรือเข้าร่วมเสนอผลงานในการประชุมทางวิชาการระดับชาติหรือนานาชาติ
3.พัฒนาอาจารย์และบุคลากรด้านการเรียนรการสอนและบริการวิชาการให้มีประสบการณ์จากการนำความรู้ปฏิบัติงานจริง 1.สนับสนุนอาจารย์และบุคลาการให้ได้รับการพัฒนาวิชาการและงานนวัตกรรม
2.อาจารย์ทำงานบริการวิชาการแก่องค์กรภายนอก สังคม/ชุมชน
1.ร้อยละของการเข้าร่วมประชุมสัมมนาและการเสนอผลงานของอาจารย์ประจำหลักสูตร
2.ร้อยละของงานบริการวิชาการต่ออาจารย์ประจำหลักสูตรและบุคลาการ
4.ส่งเสริมการใช้ความรู้เพื่อการแก้ไขปัญหาในสถานการณ์จริง 1. ปรับปรุงการจัดโปรแกรมการฝึกงานในสถานประกอบการโดยใช้การฝึกงานตามความต้องการของงานด้านนวัตกรรมชีวผลิตภัณฑ์ทั้งในท้องถิ่นและในอุตสาหกรรม โดยประสานความร่วมมือกับท้องถิ่นหรือสถานประกอบการในการจัดกิจกรรมประกอบการเรียนการสอน
2. ให้นักศึกษาทำงานวิจัย/นวัตกรรมที่สามารถนำผลที่ได้หรือความรู้ไปประยุกต์ใช้งานได้จริง และตอบสนองต่อความต้องการของชุมชน
1.รายงานการฝึกประสบการณ์ของนักศึกษาและผลงานนวัตกรรมของนักศึกษา
2.ระดับความพึงพอใจในทักษะความรู้ความสามารถในการทำงานของสถานฝึกงาน

โครงสร้างหลักสูตร

1. รหัสและชื่อหลักสูตร
    รหัสหลักสูตร 25571531102938
    ภาษาไทย หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมเพื่อการพัฒนา
    ภาษาอังกฤษ Science and Innovation for Development
2. ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
    ภาษาไทย ชื่อเต็ม : ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (วิทยาศาสตร์และนวัตกรรมเพื่อการพัฒนา)
ชื่อย่อ : ปร.ด. (วิทยาศาสตร์และนวัตกรรมเพื่อการพัฒนา)
    ภาษาอังกฤษ ชื่อเต็ม : Doctor of Philosophy (Science and Innovation for Development)
ชื่อย่อ : Ph.D. (Science and Innovation for Development)
3. รูปแบบของหลักสูตร
    แบบ 1.1 (By Research) เป็นหลักสูตรระดับคุณวุฒิปริญญาเอก หลักสูตร 3 ปี
    แบบ 2.1 (By coursework) เป็นหลักสูตรระดับคุณวุฒิปริญญาเอก หลักสูตร 3 ปี
    แบบ 2.2 (By coursework) เป็นหลักสูตรระดับคุณวุฒิปริญญาโทควบเอก หลักสูตร 4 ปี

โครงสร้างหลักสูตร

1.1 จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 123 หน่วยกิต
1.2 โครงสร้างหลักสูตร แบ่งเป็นหมวดวิชาดังนี้
     1) หมวดวิชาศึกษาทั่วไป จำนวนไม่น้อยกว่า 30 หน่วยกิต
     2) หมวดวิชาเฉพาะ จำนวนไม่น้อยกว่า 87 หน่วยกิต
         2.1) กลุ่มวิชาเนื้อหา 80 หน่วยกิต
         2.1) กลุ่มวิชาเนื้อหา 80 หน่วยกิต
              2.1.1.) กลุ่มวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ 17 หน่วยกิต
              2.1.2.) กลุ่มวิชาเฉพาะบังคับ 48 หน่วยกิต
              2.1.3.) กลุ่มวิชาเฉพาะเลือก 15 หน่วยกิต
         2.2) กลุ่มวิชาปฏิบัติการและฝึกประสบการณ์วิชาชีพ 7 หน่วยกิต
     3) หมวดวิชาเลือกเสรี 6 หน่วยกิต
1.3 รายวิชาในหมวดต่างๆ
          1) หมวดวิชาศึกษาทั่วไป จำนวนไม่น้อยกว่า 30 หน่วยกิต
            ใช้หลักสูตรหมวดวิชาศึกษาทั่วไปของมหาวิทยาลัย (ภาคผนวก ข)
          2) หมวดวิชาเฉพาะ จำนวนไม่น้อยกว่า 87 หน่วยกิต
              2.1) กลุ่มวิชาเนื้อหา จำนวนไม่น้อยกว่า 80 หน่วยกิต
                    2.1.1.) กลุ่มวิชาพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ บังคับเรียนไม่น้อยกว่า 17 หน่วยกิต
รหัส ชื่อวิชา น(ท-ป-ศ)
SBT101 ชีววิทยาพื้นฐาน
Fundamental Biology
3(2-2-5)
SBT201 พันธุศาสตร์
Genetics
3(3-0-6)
SBT202 ปฏิบัติการพันธุศาสตร์
Genetics Laboratory
1(0-3-2)
SBT203 จุลชีววิทยา
Microbiology
3(3-0-6)
SBT204 ปฏิบัติการจุลชีววิทยา
Microbiology Laboratory
1(0-3-2)
SCH101 เคมีพื้นฐาน
Basic Chemistry
3(2-2-5)
SMS118 คณิตศาสตร์และสถิติพื้นฐาน
Fundamental Mathematics and Statistics
3(2-2-5)
                    2.1.2.) กลุ่มวิชาเฉพาะบังคับ บังคับเรียนไม่น้อยกว่า 48 หน่วยกิต
รหัส ชื่อวิชา น(ท-ป-ศ)
SBT112 ความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมชีวผลิตภัณฑ์
Creative Thinking and Biological Products Innovation
3(2-2-5)
SBT113 เทคโนโลยีชีวภาพเพื่อการสร้างนวัตกรรม
Biotechnology for Innovation
3(3-0-6)
SBT215 เทคโนโลยีการแปรรูปชีวผลิตภัณฑ์
Biological Products Processing Technology
3(2-2-5)
SBT216 ชีวผลิตภัณฑ์จากสัตว์
Animal Biological Products
3(2-2-5)
SBT217 ชีวผลิตภัณฑ์จากพืช
Plant Biological Products
3(2-2-5)
SBT218 ชีวผลิตภัณฑ์จากจุลินทรีย์
Microbial Biological Products
3(2-2-5)
SBT219 ชีวผลิตภัณฑ์เชิงสุขภาพและความงาม
Biological Products for Health and Aesthetics
3(2-2-5)
SBT221 การควบคุมโดยกระบวนการชีวภาพ
Biological Process Control
3(2-2-5)
SBT314 การควบคุมและการใช้เครื่องมือ
Instrument Control and Application
3(2-2-5)
SBT344 การท่องเที่ยวเชิงเกษตรและภูมิปัญญาท้องถิ่น
Agro Tourism Management and Local Wisdom
3(2-2-5)
SBT346 การบริหารผลิตภัณฑ์และการตลาดดิจิทัล
Product Management and Digital Marketing
3(2-2-5)
SBT347 การควบคุมคุณภาพและประกันคุณภาพผลิตภัณฑ์
Quality Control and Quality Assurance of Products
3(2-2-5)
SBT348 ผู้ประกอบการทางชีวผลิตภัณฑ์
Biological Product Entrepreneurs
3(2-2-5)
SBT349 การวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่สำหรับธุรกิจชีวผลิตภัณฑ์
Data Analysis for Biological Product Businesses
3(2-2-5)
SBT350 นวัตกรรมการจัดการและพัฒนาผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น
Innovation Management and Products Development from Local Wisdom
3(2-2-5)
TID273 ออกแบบบรรจุภัณฑ์
Packaging Design
3(2-2-5)
                    2.1.3.) กลุ่มวิชาเฉพาะเลือก เลือกเรียนจากรายวิชาต่อไปนี้ไม่น้อยกว่า 15 หน่วยกิต
รหัส ชื่อวิชา น(ท-ป-ศ)
MGM206 การประกอบการธุรกิจชุมชน
Community Business Operation Electronic Commerce
3(3-0-6)
SBT220 เทคโนโลยีและนวัตกรรมเครื่องดื่ม
Beverage Technology and Innovation
3(2-2-5)
SBT222 การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชเศรษฐกิจ
Economic Crops Tissue Culture
3(2-2-5)
SBT305 พันธุวิศวกรรม
Genetic Engineering
3(2-2-5)
SBT313 เทคโนโลยีชีวภาพสาหร่าย
Algae Biotechnology
3(2-2-5)
SBT345 นวัตกรรมอาหารจากจุลินทรีย์
Microbial Food Innovation
3(2-2-5)
SBT352 ภาวะผู้นำและการจัดการ
Leadership and Management
3(2-2-5)
SBT355 นวัตกรรมอาหาร เกษตร และภูมิปัญญาท้องถิ่น
Food and Agriculture Innovation and Local Wisdom
3(2-2-5)
SBT356 กระบวนการหมักและเอนไซม์อาหาร
Fermentation and Food Enzyme
3(2-2-5)
SBT358 พลังงานทางเลือกในรูปของชีวมวล
Biomass for Renewable Energy
3(2-2-5)
SBT359 การท่องเที่ยวเชิงอาหาร
Culinary and Food Tourism
3(2-2-5)
             2.2) กลุ่มวิชาปฏิบัติการและฝึกประสบการณ์วิชาชีพ จำนวนไม่น้อยกว่า 7 หน่วยกิต
รหัส ชื่อวิชา น(ท-ป-ศ)
SBT353 เตรียมฝึกประสบการณ์ทางนวัตกรรมชีวผลิตภัณฑ์
Preparation for Professional Experience in Biological Products Innovation
1(0-7-5)
SBT354 ฝึกประสบการณ์ทางนวัตกรรมชีวผลิตภัณฑ์
General Biological Product Innovation Practice
3(2-2-5)
SBT360 สหกิจศึกษาสาขาวิชานวัตกรรมชีวผลิตภัณฑ์
Cooperative Education in Biological Product Innovation
6(6-4-0)
SBT453 ปัญหาพิเศษทางนวัตกรรมชีวผลิตภัณฑ์
Special Problems in Biological Products Innovation
3(0-6-3)
UBI101 การสร้างและพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการใหม่
Building and Expanding Start-Ups’ Performance
7(6-4-0)
         3) หมวดวิชาเลือกเสรี จำนวนไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต

         ให้เลือกเรียนรายวิชาใด ๆ ในหลักสูตรมหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี โดยไม่ซ้ำกับรายวิชาที่เคยเรียนมาแล้ว และต้องไม่เป็นรายวิชาที่กำหนดให้เรียน โดยไม่นับหน่วยกิตรวมในเกณฑ์การสำเร็จหลักสูตรของสาขาวิชานี้

         *** ข้อกำหนดเฉพาะ ในกรณีที่ศึกษาหลักสูตรระดับปริญญาตรีมาไม่น้อยกว่า 3 ปี และจำเป็นต้องยุติการศึกษา สามารถยื่นขอสำเร็จการศึกษาในระดับอนุปริญญาได้ โดยต้องศึกษารายวิชาไม่น้อยกว่า 90 หน่วยกิต ประกอบไปด้วยหมวดวิชาต่างๆ ดังนี้

1.หมวดวิชาศึกษาทั่วไป ไม่น้อยกว่า 30 หน่วยกิต
2.หมวดวิชาเฉพาะไม่น้อยกว่า 45 หน่วยกิต
3.หมวดวิชาเลือกเสรี ไม่น้อยกว่า 3 หน่วยกิต

สามารถศึกษาให้สำเร็จการศึกษาได้ภายใน 3 ปีครึ่ง

การจัดแผนการศึกษา

ชั้นปีที่ 1 ภาคการศึกษาที่ 1

หมวดวิชา รหัสวิชา ชื่อวิชา หน่วยกิต
หมวดวิชาศึกษาทั่วไป VGEXXX หมวดวิชาศึกษาทั่วไป 7
กลุ่มวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ฯ SCH101
SBT101
SMS118
เคมีพื้นฐาน
ชีววิทยาพื้นฐาน
คณิตศาสตร์และสถิติพื้นฐาน
3(2-2-5)
3(2-2-5)
3(2-2-5)
กลุ่มวิชาเฉพาะ (บังคับ) SBT112 ความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมชีวผลิตภัณฑ์ 3(2-2-5)
รวมหน่วยกิต 19

ชั้นปีที่ 1 ภาคการศึกษาที่ 2

หมวดวิชา รหัสวิชา ชื่อวิชา หน่วยกิต
หมวดวิชาศึกษาทั่วไป VGEXXX หมวดวิชาศึกษาทั่วไป 6
กลุ่มวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ฯ SBT201
SBT202
SBT203
SBT204
พันธุศาสตร์
ปฏิบัติการพันธุศาสตร์
จุลชีววิทยา
ปฏิบัติการจุลชีววิทยา
3(3-0-6)
1(0-3-2)
3(3-0-6)
1(0-3-2)
กลุ่มวิชาเฉพาะ (บังคับ) SBT113 เทคโนโลยีชีวภาพเพื่อการสร้างนวัตกรรม 3(3-0-6)
รวมหน่วยกิต 17

ชั้นปีที่ 2 ภาคการศึกษาที่ 1

หมวดวิชา รหัสวิชา ชื่อวิชา หน่วยกิต
หมวดวิชาศึกษาทั่วไป VGEXXX หมวดวิชาศึกษาทั่วไป 6
กลุ่มวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ฯ SBT215
SBT216
SBT217
SBT221
เทคโนโลยีการแปรรูปชีวผลิตภัณฑ์
ชีวผลิตภัณฑ์จากสัตว์
ชีวผลิตภัณฑ์จากพืช
การควบคุมโดยกระบวนการชีวภาพ
3(2-2-5)
3(2-2-5)
3(2-2-5)
3(2-2-5)
กลุ่มวิชาเฉพาะ (บังคับ) SBT220 เทคโนโลยีและนวัตกรรมเครื่องดื่ม 3(2-2-5)
รวมหน่วยกิต 21

ชั้นปีที่ 2 ภาคการศึกษาที่ 2

หมวดวิชา รหัสวิชา ชื่อวิชา หน่วยกิต
หมวดวิชาศึกษาทั่วไป VGEXXX หมวดวิชาศึกษาทั่วไป 8
กลุ่มวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ฯ SBT218
SBT219
SBT314
ชีวผลิตภัณฑ์จากจุลินทรีย์
ชีวผลิตภัณฑ์เชิงสุขภาพและความงาม
การควบคุมและการใช้เครื่องมือ
3(2-2-5)
3(2-2-5)
3(2-2-5)
กลุ่มวิชาเฉพาะ (บังคับ) SBT222 การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชเศรษฐกิจ 3(2-2-5)
รวมหน่วยกิต 20

ชั้นปีที่ 3 ภาคการศึกษาที่ 1

หมวดวิชา รหัสวิชา ชื่อวิชา หน่วยกิต
กลุ่มวิชาเฉพาะ (บังคับ) SBT344
SBT347
SBT348
SBT349
SBT350
การท่องเที่ยวเชิงเกษตรและภูมิปัญญาท้องถิ่น
เทคโนโลยีการแปรรูปชีวผลิตภัณฑ์
ชีวผลิตภัณฑ์จากสัตว์
ชีวผลิตภัณฑ์จากพืช
การควบคุมโดยกระบวนการชีวภาพ
3(2-2-5)
3(2-2-5)
3(2-2-5)
3(2-2-5)
3(2-2-5)
กลุ่มวิชาปฏิบัติการและฝึกประสบการณ์วิชาชีพ SBT353 เตรียมฝึกประสบการณ์ทางนวัตกรรมชีวผลิตภัณฑ์ 1(0-7-5)
รวมหน่วยกิต 16

ชั้นปีที่ 3 ภาคการศึกษาที่ 2

หมวดวิชา รหัสวิชา ชื่อวิชา หน่วยกิต
กลุ่มวิชาเฉพาะ (บังคับ) TID273
SBT346
ออกแบบบรรจุภัณฑ์
การบริหารผลิตภัณฑ์และการตลาดดิจิทัล
3(2-2-5)
3(2-2-5)
กลุ่มวิชาเฉพาะ (เลือก) MGM206
SBT305
SBT352
การประกอบการธุรกิจชุมชน
พันธุวิศวกรรม
ภาวะผู้นำและการจัดการ
3(3-0-6)
3(2-2-5)
3(3-0-6)
กลุ่มวิชาปฏิบัติการและฝึกประสบการณ์วิชาชีพ SBT354 ฝึกประสบการณ์ทางด้านนวัตกรรมชีวผลิตภัณฑ์ 3(2-2-5)
รวมหน่วยกิต 18

ชั้นปีที่ 4 ภาคการศึกษาที่ 1

หมวดวิชา รหัสวิชา ชื่อวิชา หน่วยกิต
กลุ่มวิชาปฏิบัติการและฝึกประสบการณ์วิชาชีพ SBT453
SBT360
UBI101
ปัญหาพิเศษทางนวัตกรรมชีวผลิตภัณฑ์ หรือ
สหกิจศึกษาสาขาวิชานวัตกรรมชีวผลิตภัณฑ์ หรือ
การสร้างและพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการใหม่
3(3-0-6)
6(6-4-0)
7(6-4-0)
รวมหน่วยกิต 3 หรือ 6 หรือ 7

ชั้นปีที่ 4 ภาคการศึกษาที่ 2

หมวดวิชา รหัสวิชา ชื่อวิชา หน่วยกิต
หมวดวิชาศึกษาทั่วไป VGEXXX หมวดวิชาศึกษาทั่วไป 3
เลือกเสรี xxxxxx เลือกเสรี 6(x-x-x)
รวมหน่วยกิต 9

ผลการเรียนรู้ กลยุทธ์การสอนและการประเมินผล

1.การพัฒนาคุณลักษณะพิเศษของนักศึกษา ประยุกต์รูปแบบ ABCD โมเดล เข้าสู่ระบบการศึกษา

คุณลักษณะพิเศษ กลยุทธ์หรือกิจกรรมของนักศึกษา
1.1 มีความรู้พื้นฐานในศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรมชีวผลิตภัณฑ์ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติอยู่ในเกณฑ์ดี สามารถประยุกต์ได้อย่างเหมาะสมในการประกอบวิชาชีพและศึกษาต่อในระดับสูง รายวิชาบังคับของหลักสูตรต้องปูพื้นฐานของศาสตร์และสร้างความเชื่อมโยงระหว่างภาคทฤษฎีและปฏิบัติ โดยใช้รูปแบบ Active learning คือ ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง สร้างการเรียนรู้ด้วยตนเองผ่านการเรียนรู้เชิงปฏิบัติจริง สร้างผลลัพธ์การเรียน เน้นการเรียนรู้แบบสืบค้นผ่าน Project Base Learning, Case Base Learning, Outdoor Learning โดยให้มีปฏิบัติการ แบบฝึกหัด โครงงาน และมีกรณีศึกษาให้นักศึกษาเข้าใจการประยุกต์องค์ความรู้กับปัญหาจริง
1.2 มีความรู้ทันสมัย ใฝ่รู้ และมีความสามารถ พัฒนาความรู้ เพื่อพัฒนาตนเอง พัฒนางานและพัฒนาสังคม รายวิชาเลือกที่เปิดสอนต้องต่อยอดความรู้พื้นฐานในภาคบังคับ และปรับตามวิวัฒนาการของศาสตร์ทางด้านนวัตกรรมชีวผลิตภัณฑ์ มีโจทย์ปัญหาที่ท้าทายให้นักศึกษาค้นคว้าหาความรู้ในการพัฒนาศักยภาพโดยใช้รูปแบบ Blended Learning คือ มีการจัดการเรียนรู้แบบผสมทั้งในห้องเรียนและการเรียนรู้ด้วยตนเองผ่านแผนการจัดการเรียนรู้และสื่อเรียนรู้ทั้งแบบ Class room และ Online process
1.3 คิดเป็น ทำเป็น และเลือกวิธีการแก้ปัญหาได้อย่างเป็นระบบและเหมาะสม รายวิชามีการใช้รูปแบบ Design Thinking for Learning Outcomes คือ นำกระบวนการคิดออกแบบมาใช้ในการพัฒนาแผนกิจกรรมการเรียนรู้ทั้งในระดับหลักสูตร รายวิชา และบทเรียน โดยมุ่งเน้นการสร้างผลลัพธ์การเรียนรู้ที่ก่อให้เกิดสมรรถนะที่พีงประสงค์อย่างต่อเนื่อง ต้องมีโจทย์ปัญหา แบบฝึกหัด หรือโครงงาน ให้นักศึกษาได้ฝึกคิด ฝึกปฏิบัติ ฝึกแก้ปัญหาแทนการท่องจำ
1.4 มีความสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่น มีทักษะการบริหารจัดการและทำงานเป็นหมู่คณะ มีการตั้งโจทย์ปัญหาและโครงงานของรายวิชาต่าง ๆ โดยรูปแบบกิจกรรม Collaborative Learning คือ การจัดให้ผู้เรียนเรียนรู้กับเพื่อน อาจารย์ และท้องถิ่นทั้งในและนอกห้องเรียนและสื่อ Online โดยผู้เรียนกับผู้สอนร่วมกันกำหนดประเด็นเรียนรู้ ผู้สอนเป็นผู้อำนวยการให้เกิดการเรียนรู้ มีการทำงานแบบคณะทำงาน แทนที่จะเป็นแบบงานเดี่ยว เพื่อส่งเสริมให้นักศึกษาได้ฝึกฝนการทำงานเป็นหมู่คณะ
1.5 รู้จักแสวงหาความรู้ด้วยตนเองและสามารถติดต่อสื่อสารกับผู้อื่นได้เป็นอย่างดี มีการมอบหมายงานให้นักศึกษาได้สืบค้นข้อมูล รวบรวมความรู้ที่นอกเหนือจากที่ได้นำเสนอในชั้นเรียน และเผยแพร่ความรู้ที่ได้ระหว่างนักศึกษาด้วยกัน หรือให้กับผู้สนใจภายนอก โดยรูปแบบ Active learning คือ ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง สร้างการเรียนรู้ด้วยตนเองผ่านการเรียนรู้เชิงปฏิบัติจริง สร้างผลลัพธ์การเรียน เน้นการเรียนรู้แบบสืบค้นผ่าน Project Base Learning, Case Base Learning, Outdoor Learning

2.ความคาดหวังของผลลัพธ์การเรียนรู้เมื่อสิ้นปีการศึกษา (Program learning outcomes)

ปีการศึกษาที่ ความคาดหวังของผลลัพธ์การเรียนรู้เมื่อสิ้นปีการศึกษา
1 นักศึกษามีทักษะในการใช้เครื่องมือวิทยาศาสตร์เพื่อปฏิบัติงานในระดับธุรกิจท้องถิ่นหรือในโรงงานอุตสาหกรรม เพื่อสร้างผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพเป็นไปตามมาตรฐานได้แก่ด้านอาหาร อาหารเพื่อสุขภาพ และสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้
2 นักศึกษามีความเข้าใจในกระบวนการผลิตและแปรรูปอาหาร และผลิตภัณฑ์ มีแนวคิดที่สามารถใช้ทรัพยากรท้องถิ่นมาสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ หรือนวัตกรรมใหม่ๆ ร่วมกับชุมชนหรือท้องถิ่น
3 นักศึกษาสามารถบริหารวางแผน จัดการเพื่อสร้างรายได้ โดยสามารถที่จะเป็นผู้ประกอบการอิสระด้านผลิตภัณฑ์อาหาร หรืออาหารเพื่อสุขภาพ โดยสร้าง แบรนด์ของตนเองและมีจิตใจบริการ (Service Mind) ตลอดจนมีทักษะในการสื่อสารทางให้คำปรึกษาหรือพัฒนาผลิตภัณฑ์
4 นักศึกษานำความรู้ด้านวิทยาศาสตร์พื้นฐานของงานในสายอาชีพ และความคิดสร้างสรรค์สร้างนวัตกรรมชีวผลิตภัณฑ์ของตนเองหรือสามารถพัฒนาของท้องถิ่น

3.เกณฑ์การสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตร

         เกณฑ์การสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตร ให้เป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยราชภัฏ วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี ว่าด้วยการจัดการศึกษาระดับอนุปริญญาและปริญญาตรี พ.ศ. 2557 และแก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2561 และ ฉบับที่ 3 พ.ศ. 2562 (ภาคผนวก ก)

Bioproducts Innovation VRU

Bioproducts Innovation VRU