ข้อมูลทั่วไปหลักสูตร
ภาษาไทย ชื่อเต็ม : วิทยาศาสตรบัณฑิต (นวัตกรรมชีวผลิตภัณฑ์)
ชื่อย่อ
: วท.บ.
(นวัตกรรมชีวผลิตภัณฑ์)
ภาษาอังกฤษ ชื่อเต็ม : Bachelor of Science (Bioproducts Innovation)
ชื่อย่อ
: B.Sc.
(Bioproducts
Innovation)
5.1 รูปแบบ
เป็นหลักสูตรระดับคุณวุฒิปริญญาตรี
หลักสูตร 4 ปี
5.2 ประเภทหลักสูตร
เป็นหลักสูตรปริญญาตรีทางวิชาการ
5.3 ภาษาที่ใช้
ภาษาไทย
5.4 การรับเข้าศึกษา
รับนักศึกษาไทย
และนักศึกษาต่างชาติที่ใช้ภาษาไทยได้เป็นอย่างดี
5.5 ความร่วมมือกับสถาบันอื่น
เป็นหลักสูตรเฉพาะของมหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์
ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี
5.6 การให้ปริญญาแก่ผู้สำเร็จการศึกษา
ให้ปริญญาเพียงสาขาวิชาเดียว
หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2564 เริ่มใช้หลักสูตรนี้ตั้งแต่ ภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2564
สภาวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี
ให้ความเห็นชอบหลักสูตรในการนำเสนอหลักสูตรต่อสภามหาวิทยาลัยในการประชุมครั้งที่ 6/2563 เมื่อวันที่
18 มิถุนายน
2563
สภามหาวิทยาลัยมหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานีอนุมัติหลักสูตร
ในการประชุมครั้งที่ 8/2563 เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 6 สิงหาคม 2563
ความพร้อมในการเผยแพร่หลักสูตรที่มีคุณภาพและมาตรฐานตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552 ในปีการศึกษา พ.ศ. 2566
7.1 ผู้ประกอบการหรือเจ้าของธุรกิจด้านผลิตภัณฑ์ชีวภาพ ได้แก่ ด้านอาหาร
อาหารสุขภาพ
ตลอดจนธุรกิจทางด้านอุตสาหกรรมเกษตร การแปรรูปผลิตภัณฑ์
หรือบริษัทธุรกิจทางเทคโนโลยีชีวภาพอาหารทุกประเภท
7.2 นักวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ในสถานประกอบการ
อุตสาหกรรมด้านธุรกิจอาหารหรือที่เกี่ยวข้อง ในหน่วยงานราชการและเอกชน
7.3 เจ้าหน้าที่ควบคุมคุณภาพในสถานประกอบการ อุตสาหกรรมด้านธุรกิจอาหาร
ในหน่วยงานราชการและเอกชน
7.4 ตัวแทนฝ่ายขายผลิตภัณฑ์ด้านวิทยาศาสตร์ อาหาร เกษตร และอื่น ๆ
7.5 ศึกษาต่อในระดับบัณฑิตศึกษา
ภาระงานสอน (ชม./สัปดาห์) | ||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ลำดับ | ชื่อ-นามสกุล | ตำแหน่งวิชาการ | คุณวุฒิ-สาขาวิชาเอก | สถาบันการศึกษา | ปีที่จบ | 2560 | 2561 | 2562 | 2563 | |
1 | นางนฤมล ธนานันต์ | รองศาตราจารย์ | วท.ด. (พันธุศาสตร์) วท.ม. (พันธุศาสตร์) วท.บ. (เกษตรศาสตร์) |
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาลัยครูอุดรธานี |
2547 2540 2535 |
12 | 12 | 12 | 12 | |
2 | นางสาวพรรณวิภา แพงศรี | ผู้ช่วยศาสตราจารย์ | ปร.ด. (เทคโนโลยีชีวภาพ) วท.ม. (เทคโนโลยีชีวภาพ) วท.บ. (เทคโนโลยีชีวภาพ) |
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม |
2558 2547 2542 |
12 | 12 | 12 | 12 | |
3 | นายวัฒนา อัจฉริยะโพธา | ผู้ช่วยศาสตราจารย์ | วท.ม. (เทคโนโลยีชีวภาพ) วท.บ. (เทคโนโลยีชีวภาพ) |
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง |
2547 2541 |
12 | 12 | 12 | 12 | |
4 | นางดวงเดือน วัฏฏานุรักษ์ | ผู้ช่วยศาสตราจารย์ | วท.ม.(เทคโนโลยีชีวภาพ) วท.บ. (ชีววิทยา) เกียรตินิยมอันดับ2 ปร.ด.(วิทยาศาสตรศึกษา) |
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ บางเขน มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ |
2544 2536 2564 |
12 | 12 | 12 | 12 | |
5 | นายณฐพงศ์ เมธินธรังสรรค์ | ผู้ช่วยศาสตราจารย์ | วท.ม. (กีฏวิทยาและสิ่งแวดล้อม) วท.บ. (ชีววิทยา) |
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม |
2548 2542 |
12 | 12 | 12 | 12 | |
6 | นางสาวปุนยนุช นิลแสง | ผู้ช่วยศาสตราจารย์ | Ph.D.(Food Engineering andBioprocess technology ) วท.ม. (เทคโนโลยีชีวภาพ) วท.บ. (เทคโนโลยีชีวภาพ) |
สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยมหิดล |
2550 2545 2537 |
12 | 12 | 12 | 12 | |
7 | นางสาวจิตติมา กอหรั่งกูล | อาจารย์ | วท.ม. (เทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม) วท.บ. (เทคโนโลยีชีวภาพ) |
มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยมหิดล |
2547 2543 |
12 | 12 | 12 | 12 | |
8 | นางสาวมัทนภรณ์ ใหม่คามิ | อาจารย์ | ปร.ด. (พฤกษศาสตร์) วท.ม.(พฤกษศาสตร์) วท.บ.(ชีววิทยา) |
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ |
2560 2554 2550 |
12 | 12 | 12 | 12 |
กลุ่มเทคโนโลยีด้านอุตสาหกรรมอาหาร เกษตร และเทคโนโลยีชีวภาพ ได้มีบทบาทมากในเศรษฐกิจระดับประเทศและระดับสากล ซึ่งเป็นหนึ่งในนโยบายที่รัฐบาลให้ความสำคัญในการพัฒนาประเทศ สิ่งที่จะทำให้ “ไทยแลนด์ 4.0” เป็นรูปธรรมได้จริง และสามารถตอบโจทย์การพัฒนาอย่างยั่งยืน ที่เชื่อมโยงกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง จึงมีการคิดโมเดลเศรษฐกิจใหม่ออกมาภายใต้ชื่อ BCG Model ซึ่ง เป็นการบูรณาการการพัฒนาเศรษฐกิจในสามมิติไปพร้อมกัน ได้แก่ B- Bio Economy หรือ เศรษฐกิจชีวภาพ C-Circular Economy หรือเศรษฐกิจหมุนเวียน และ G-Green Economy หรือ เศรษฐกิจสีเขียว จึงจำเป็นต้องมีบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญในการพัฒนานวัตกรรมผลิตภัณฑ์ทางด้านอาหาร การผลักดันให้ BCG Model และนวัตกรรมได้ก้าวไปข้างหน้าอย่างยั่งยืนจะอาศัยหลักการวิจัยและพัฒนาทางวิทยาศาสตร์ และหลักการขององค์ประกอบของโครงสร้างพื้นฐานด้านคุณภาพของประเทศ (National Quality Infrastructure (NQI)) ซึ่งประกอบด้วย 5 ส่วน ได้แก่ การมาตรฐาน (standardization) การทดสอบ (testing) การวัด (measurement) การรับรองเป็นลายลักษณ์อักษร (certification) และการรับรองคุณภาพ (accreditation) เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและความสำเร็จที่มากขึ้นแก่ผลิตภัณฑ์ชีวภาพจากฐานทรัพยากรในท้องถิ่นมายกระดับมาตรฐานและเพิ่มขีดความสามารถแข่งขันให้ประเทศในกลุ่มอุตสาหกรรมอาหาร ดังนั้นทางหลักสูตรจึงให้ความสำคัญกับกระบวนการวิจัยและพัฒนาสร้างนวัตกรรมหรือสร้างผู้ประกอบการที่มีความเชี่ยวชาญในกลุ่มชีวผลิตภัณฑ์ ได้แก่ด้าน อาหาร และอาหารเพื่อสุขภาพ เพื่อขับเคลื่อนธุรกิจตั้งแต่การเลือกใช้ทรัพยากรท้องถิ่นที่มีมาตรฐานนำมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ที่เป็นนวัตกรรมทางชีวภาพที่ได้มาตรฐานและปลอดภัยให้เป็นการพัฒนาท้องถิ่น
หลักสูตรนวัตกรรมชีวผลิตภัณฑ์ได้ออกแบบหลักสูตรมาเพื่อให้ผู้เรียนมีองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์พื้นฐานเพื่อพัฒนาธุรกิจด้านชีวผลิตภัณฑ์ โดยใช้นวัตกรรมและหลักการทางวิทยาศาสตร์ การควบคุมมาตรฐานคุณภาพ รวมถึงสามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้วยทรัพยากรและภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อตอบสนองการขับเคลื่อนนโยบายของมหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานีและประเทศไทย ที่ต้องการให้มีการเชื่อมโยงองค์ความรู้ในมหาวิทยาลัยออกสู่ชุมชนให้เกิดความมั่นคง มั่งคัง และยั่งยืนทั้งด้านเศรษฐกิจ วัฒนธรรม และภูมิปัญญา บัณฑิตจากหลักสูตรจะตอบสนองความต้องการในการพัฒนาประเทศโดยใช้ทรัพยากรที่มีในท้องถิ่นมาใช้ประโยชน์เพื่อสร้างนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ด้านชีวภาพ โดยมีการบริหารและจัดการอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อสร้างความยั่งยืนและเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ในท้องถิ่น นอกจากนี้บัณฑิตยังสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในเชิงธุรกิจ และสามารถนำไปต่อยอดในกลุ่มอุตสาหกรรมอาหาร อาหารเพื่อสุขภาพ หรือเทคโนโลยีชีวภาพ โดยทางหลักสูตรร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการสร้างและพัฒนาผู้ประกอบการให้สามารถสร้างผลิตภัณฑ์เองได้ ได้แก่ ศูนย์บ่มเพาะธุรกิจและผู้ประกอบการ มหาวิทยาราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ที่เป็นหน่วยฝึกปฏิบัติให้แก่ผู้เรียนหรือเป็นหน่วยวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารซึ่งก่อให้เกิดความเชี่ยวชาญและส่งเสริมการขับเคลื่อนธุรกิจให้เท่าเทียมสากล
การพัฒนาหลักสูตรนวัตกรรมชีวผลิตภัณฑ์ออกแบบโดยเน้นให้นักศึกษาสามารถพัฒนานวัตกรรมผลิตภัณฑ์ทางด้านอาหาร และอาหารเพื่อสุขภาพ เพื่อการค้าทั้งในระดับชุมชนและอุตสาหกรรม โดยใช้หลักการทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และหลักการของ NQI อีกทั้งยังต้องสามารถวิจัยและพัฒนาเพื่อตอบสนองต่อการแก้ไขปัญหาของท้องถิ่น และเป็นต้นแบบที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาคุณภาพชีวิต และความเข้มแข็งของท้องถิ่น รวมทั้งสามารถปรับเปลี่ยนนวัตกรรมและผลิตภัณฑ์ตามการเปลี่ยนแปลงสถานการณ์ของเศรษฐกิจประเทศไทยและสังคมโลกปัจจุบัน ตลอดจนสามารถพัฒนาตนเองให้เข้ากับลักษณะงานอย่างมืออาชีพ
เป้าหมายของมหาวิทยาลัยต้องการส่งเสริมการวิจัย นวัตกรรมเพื่อพัฒนาท้องถิ่น และมีพันธกิจในการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมเพื่อให้เป็น VRU Innovation Hub ทำให้สาขาวิชาต้องมีการพัฒนาหลักสูตรเพื่อผลิตบัณฑิตที่มีศักยภาพในการคิดค้นและพัฒนานวัตกรรมผลิตภัณฑ์ทางด้านอาหาร และอาหารเพื่อสุขภาพ โดยมีการใช้ห้องปฏิบัติการที่มีมาตรฐานเป็นศูนย์กลางในการเรียนการสอนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อสร้างนวัตกรรมให้เหมาะสมต่อการดำรงชีวิตและการประกอบอาชีพของคนในท้องถิ่น และใช้เทคโนโลยีในการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ ทรัพยากรสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลและยั่งยืน โดยประสานความร่วมมือกับท้องถิ่นเพื่อการถ่ายทอดความรู้และผลงานวิจัยให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้งานได้ในการพัฒนาท้องถิ่นตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตามพันธกิจของมหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ สร้างรายได้และอาชีพต่อไป
มุ่งผลิตบัณฑิตผู้มีความรู้มีความคิดสร้างสรรค์นวัตกรรมจากทรัพยากรชีวภาพ ร่วมมือกับท้องถิ่นแก้ไขปัญหาและเพิ่มทักษะให้ท้องถิ่น เน้นให้นักศึกษามีความรู้แบบบูรณาการโดยใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ผสมผสานระหว่างทฤษฎีควบคู่กับการปฏิบัติเพื่อนำไปต่อยอดในเชิงพาณิชย์
ธุรกิจและอุตสาหกรรมอาหาร เกษตร และเทคโนโลยีชีวภาพ มีบทบาทอย่างยิ่งในการยกระดับเศรษฐกิจของประเทศ ดังนั้นทางหลักสูตรจึงให้ความสำคัญกับกระบวนการวิจัยและพัฒนา ตลอดจนพัฒนาช่องทางการขับเคลื่อนธุรกิจตั้งแต่การเลือกวัตถุดิบท้องถิ่นที่มีมาตรฐาน กระบวนการขนส่งวัตถุดิบ การเก็บรักษา เพื่อนำมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ที่เป็นนวัตกรรมทางชีวภาพ ได้แก่ ด้านอาหาร และอาหารเพื่อสุขภาพ ที่ได้มาตรฐานและปลอดภัยให้เป็นการพัฒนาท้องถิ่น และส่งผลไปถึงผู้บริโภคได้รับสินค้าที่มีคุณภาพและปลอดภัย รวมถึงการส่งเสริมการตลาด เป็นการเตรียมความพร้อมสู่การเข้าสู่ยุคประเทศไทย 4.0 ที่ต้องการให้กลุ่มอาหาร เกษตร และเทคโนโลยีชีวภาพ มีการเดินหน้าเพื่อพัฒนาเส้นทางธุรกิจและนวัตกรรมชีวภาพอย่างต่อเนื่องอีกทั้งในระดับประเทศยังมีความต้องการบุคคลากรที่มีศักยภาพในการพัฒนาอุตสาหกรรมอาหาร และอาหารเพื่อสุขภาพ เป็นจำนวนมาก
จากเหตุผลดังกล่าวหลักสูตรนวัตกรรมชีวผลิตภัณฑ์ได้ออกแบบหลักสูตรมาเพื่อให้ผู้เรียนมีองค์ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาธุรกิจอาหาร และอาหารเพื่อสุขภาพ โดยใช้นวัตกรรมและหลักการทางวิทยาศาสตร์ หลักการ NQI รวมถึงสามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้วยทรัพยากรและภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อตอบสนองการขับเคลื่อนนโยบายของมหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี และประเทศไทยในการเตรียมความพร้อมสู่การเข้าสู่ยุคประเทศไทย 4.0 บัณฑิตที่สามารถสร้างนวัตกรรมชีวภาพ และมีการจัดการธุรกิจชีวภาพจึงเป็นส่วนหนึ่งในการเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการทำงานแก่องค์กรและท้องถิ่นเพื่อให้สอดคล้องกับการเจริญเติบโตของภาคอุตสาหกรรมอาหาร อาหารเพื่อสุขภาพ และอุตสาหกรรมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขานวัตกรรมการชีวผลิตภัณฑ์ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2564) มีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีคุณสมบัติ ดังนี้
3.1 เป็นบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ในหลักวิชาการพื้นฐานทางนวัตกรรมชีวผลิตภัณฑ์และสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง และสามารถบูรณาการองค์ความรู้ไปใช้ในการสร้างนวัตกรรมชีวผลิตภัณฑ์ หรือสร้างนวัตกรรมชีวผลิตภัณฑ์โดยใช้ทรัพยากรในท้องถิ่นให้เกิดคุณค่า
3.2 เป็นบัณฑิตที่มีทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 เป็นผู้ประกอบการหรือประกอบอาชีพที่เกี่ยวกับธุรกิจทางด้านอาหาร อาหารเพื่อสุขภาพ หรือในสายงานที่เกี่ยวข้อง มีทักษะการนำทรัพยากรท้องถิ่นมาใช้อย่างมีประสิทธิภาพ
3.3 เป็นบัณฑิตที่มีบุคลิกภาพดี มีจิตบริการ มีความรับผิดชอบต่อสังคม และสิ่งแวดล้อมมีความพร้อมในการทำงานร่วมกับผู้อื่นและประกอบอาชีพด้วยตนเองได้อย่างยั่งยืน
3.4 มีคุณธรรมจริยธรรม และปฏิบัติตนให้เป็นประโยชน์แก่สังคมและประเทศชาติและคำนึงถึงผลประโยชน์ส่วนรวมเป็นสำคัญ
แผนปรับปรุง/เปลี่ยนแปลง | กลยุทธ์ | หลักฐาน/ตัวบ่งชี้ |
---|---|---|
1.พัฒนาหลักสูตรให้มีมาตรฐานตามที่ สกอ. กำหนด และสอดคล้องพันธกิจมหาวิทยาลัย | 1. ติดตามประเมินหลักสูตรอย่างสม่ำเสมอ 2. พัฒนาหลักสูตรอย่างต่อเนื่อง |
1. รายงานผลการประเมินหลักสูตร 2. รายงาน/เอกสารปรับปรุงหลักสูตร |
2.พัฒนาอาจารย์ให้มีผลงานด้านนวัตกรรมชีวผลิตภัณฑ์ | 1.สนับสนุนให้มีการค้นคว้าวิจัยสร้างนวัตกรรม
2.ส่งเสริมให้มีการจดสิทธิบัตรหรืออนุสิทธิบัตร 3.เผยแพร่ผลงานนวัตกรรมโดยตีพิมพ์เผยแพร่หรือเข้าร่วมเสนอผลงานในการประชุมทางวิชาการทั้งระดับชาติและนานาชาติ |
1. ผลงานนวัตกรรมชีวผลิตภัณฑ์
2.ร้อยละของอาจารย์ที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่หรือเข้าร่วมเสนอผลงานในการประชุมทางวิชาการระดับชาติหรือนานาชาติ |
3.พัฒนาอาจารย์และบุคลากรด้านการเรียนรการสอนและบริการวิชาการให้มีประสบการณ์จากการนำความรู้ปฏิบัติงานจริง | 1.สนับสนุนอาจารย์และบุคลาการให้ได้รับการพัฒนาวิชาการและงานนวัตกรรม 2.อาจารย์ทำงานบริการวิชาการแก่องค์กรภายนอก สังคม/ชุมชน |
1.ร้อยละของการเข้าร่วมประชุมสัมมนาและการเสนอผลงานของอาจารย์ประจำหลักสูตร 2.ร้อยละของงานบริการวิชาการต่ออาจารย์ประจำหลักสูตรและบุคลาการ |
4.ส่งเสริมการใช้ความรู้เพื่อการแก้ไขปัญหาในสถานการณ์จริง | 1.
ปรับปรุงการจัดโปรแกรมการฝึกงานในสถานประกอบการโดยใช้การฝึกงานตามความต้องการของงานด้านนวัตกรรมชีวผลิตภัณฑ์ทั้งในท้องถิ่นและในอุตสาหกรรม
โดยประสานความร่วมมือกับท้องถิ่นหรือสถานประกอบการในการจัดกิจกรรมประกอบการเรียนการสอน 2. ให้นักศึกษาทำงานวิจัย/นวัตกรรมที่สามารถนำผลที่ได้หรือความรู้ไปประยุกต์ใช้งานได้จริง และตอบสนองต่อความต้องการของชุมชน |
1.รายงานการฝึกประสบการณ์ของนักศึกษาและผลงานนวัตกรรมของนักศึกษา
2.ระดับความพึงพอใจในทักษะความรู้ความสามารถในการทำงานของสถานฝึกงาน |
1. รหัสและชื่อหลักสูตร | |
---|---|
รหัสหลักสูตร | 25571531102938 |
ภาษาไทย | หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมเพื่อการพัฒนา |
ภาษาอังกฤษ | Science and Innovation for Development |
2. ชื่อปริญญาและสาขาวิชา | |
ภาษาไทย | ชื่อเต็ม : ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (วิทยาศาสตร์และนวัตกรรมเพื่อการพัฒนา) ชื่อย่อ : ปร.ด. (วิทยาศาสตร์และนวัตกรรมเพื่อการพัฒนา) |
ภาษาอังกฤษ | ชื่อเต็ม : Doctor of Philosophy (Science and Innovation for
Development) ชื่อย่อ : Ph.D. (Science and Innovation for Development) |
3. รูปแบบของหลักสูตร | |
แบบ 1.1 (By Research) | เป็นหลักสูตรระดับคุณวุฒิปริญญาเอก หลักสูตร 3 ปี |
แบบ 2.1 (By coursework) | เป็นหลักสูตรระดับคุณวุฒิปริญญาเอก หลักสูตร 3 ปี |
แบบ 2.2 (By coursework) | เป็นหลักสูตรระดับคุณวุฒิปริญญาโทควบเอก หลักสูตร 4 ปี |
1.1 จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า | 123 | หน่วยกิต | ||
---|---|---|---|---|
1.2 โครงสร้างหลักสูตร แบ่งเป็นหมวดวิชาดังนี้ | ||||
1) หมวดวิชาศึกษาทั่วไป จำนวนไม่น้อยกว่า | 30 | หน่วยกิต | ||
2) หมวดวิชาเฉพาะ จำนวนไม่น้อยกว่า | 87 | หน่วยกิต | ||
2.1) กลุ่มวิชาเนื้อหา | 80 | หน่วยกิต | ||
2.1) กลุ่มวิชาเนื้อหา | 80 | หน่วยกิต | ||
2.1.1.) กลุ่มวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ | 17 | หน่วยกิต | ||
2.1.2.) กลุ่มวิชาเฉพาะบังคับ | 48 | หน่วยกิต | ||
2.1.3.) กลุ่มวิชาเฉพาะเลือก | 15 | หน่วยกิต | ||
2.2) กลุ่มวิชาปฏิบัติการและฝึกประสบการณ์วิชาชีพ | 7 | หน่วยกิต | ||
3) หมวดวิชาเลือกเสรี | 6 | หน่วยกิต | ||
1.3 รายวิชาในหมวดต่างๆ | ||||
1) หมวดวิชาศึกษาทั่วไป จำนวนไม่น้อยกว่า | 30 | หน่วยกิต | ||
ใช้หลักสูตรหมวดวิชาศึกษาทั่วไปของมหาวิทยาลัย (ภาคผนวก ข) | ||||
2) หมวดวิชาเฉพาะ จำนวนไม่น้อยกว่า | 87 | หน่วยกิต | ||
2.1) กลุ่มวิชาเนื้อหา จำนวนไม่น้อยกว่า | 80 | หน่วยกิต | ||
2.1.1.) กลุ่มวิชาพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ บังคับเรียนไม่น้อยกว่า | 17 | หน่วยกิต | ||
รหัส | ชื่อวิชา | น(ท-ป-ศ) | ||
SBT101 | ชีววิทยาพื้นฐาน Fundamental Biology |
3(2-2-5) | ||
SBT201 | พันธุศาสตร์ Genetics |
3(3-0-6) | ||
SBT202 | ปฏิบัติการพันธุศาสตร์ Genetics Laboratory |
1(0-3-2) | ||
SBT203 | จุลชีววิทยา Microbiology |
3(3-0-6) | ||
SBT204 | ปฏิบัติการจุลชีววิทยา Microbiology Laboratory |
1(0-3-2) | ||
SCH101 | เคมีพื้นฐาน Basic Chemistry |
3(2-2-5) | ||
SMS118 | คณิตศาสตร์และสถิติพื้นฐาน Fundamental Mathematics and Statistics |
3(2-2-5) | ||
2.1.2.) กลุ่มวิชาเฉพาะบังคับ บังคับเรียนไม่น้อยกว่า | 48 | หน่วยกิต | ||
รหัส | ชื่อวิชา | น(ท-ป-ศ) | ||
SBT112 | ความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมชีวผลิตภัณฑ์ Creative Thinking and Biological Products Innovation |
3(2-2-5) | ||
SBT113 | เทคโนโลยีชีวภาพเพื่อการสร้างนวัตกรรม
Biotechnology for Innovation |
3(3-0-6) | ||
SBT215 | เทคโนโลยีการแปรรูปชีวผลิตภัณฑ์ Biological Products Processing Technology |
3(2-2-5) | ||
SBT216 | ชีวผลิตภัณฑ์จากสัตว์ Animal Biological Products |
3(2-2-5) | ||
SBT217 | ชีวผลิตภัณฑ์จากพืช Plant Biological Products |
3(2-2-5) | ||
SBT218 | ชีวผลิตภัณฑ์จากจุลินทรีย์ Microbial Biological Products |
3(2-2-5) | ||
SBT219 | ชีวผลิตภัณฑ์เชิงสุขภาพและความงาม Biological Products for Health and Aesthetics |
3(2-2-5) | ||
SBT221 | การควบคุมโดยกระบวนการชีวภาพ Biological Process Control |
3(2-2-5) | ||
SBT314 | การควบคุมและการใช้เครื่องมือ Instrument Control and Application |
3(2-2-5) | ||
SBT344 | การท่องเที่ยวเชิงเกษตรและภูมิปัญญาท้องถิ่น Agro Tourism Management and Local Wisdom |
3(2-2-5) | ||
SBT346 | การบริหารผลิตภัณฑ์และการตลาดดิจิทัล Product Management and Digital Marketing |
3(2-2-5) | ||
SBT347 | การควบคุมคุณภาพและประกันคุณภาพผลิตภัณฑ์ Quality Control and Quality Assurance of Products |
3(2-2-5) | ||
SBT348 | ผู้ประกอบการทางชีวผลิตภัณฑ์ Biological Product Entrepreneurs |
3(2-2-5) | ||
SBT349 | การวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่สำหรับธุรกิจชีวผลิตภัณฑ์
Data Analysis for Biological Product Businesses |
3(2-2-5) | ||
SBT350 | นวัตกรรมการจัดการและพัฒนาผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น
Innovation Management and Products Development from Local Wisdom |
3(2-2-5) | ||
TID273 | ออกแบบบรรจุภัณฑ์ Packaging Design |
3(2-2-5) | ||
2.1.3.) กลุ่มวิชาเฉพาะเลือก เลือกเรียนจากรายวิชาต่อไปนี้ไม่น้อยกว่า | 15 | หน่วยกิต | ||
รหัส | ชื่อวิชา | น(ท-ป-ศ) | ||
MGM206 | การประกอบการธุรกิจชุมชน Community Business Operation Electronic Commerce |
3(3-0-6) | ||
SBT220 | เทคโนโลยีและนวัตกรรมเครื่องดื่ม Beverage Technology and Innovation |
3(2-2-5) | ||
SBT222 | การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชเศรษฐกิจ Economic Crops Tissue Culture |
3(2-2-5) | ||
SBT305 | พันธุวิศวกรรม Genetic Engineering |
3(2-2-5) | ||
SBT313 | เทคโนโลยีชีวภาพสาหร่าย Algae Biotechnology |
3(2-2-5) | ||
SBT345 | นวัตกรรมอาหารจากจุลินทรีย์ Microbial Food Innovation |
3(2-2-5) | ||
SBT352 | ภาวะผู้นำและการจัดการ Leadership and Management |
3(2-2-5) | ||
SBT355 | นวัตกรรมอาหาร เกษตร และภูมิปัญญาท้องถิ่น Food and Agriculture Innovation and Local Wisdom |
3(2-2-5) | ||
SBT356 | กระบวนการหมักและเอนไซม์อาหาร Fermentation and Food Enzyme |
3(2-2-5) | ||
SBT358 | พลังงานทางเลือกในรูปของชีวมวล Biomass for Renewable Energy |
3(2-2-5) | ||
SBT359 | การท่องเที่ยวเชิงอาหาร Culinary and Food Tourism |
3(2-2-5) | ||
2.2) กลุ่มวิชาปฏิบัติการและฝึกประสบการณ์วิชาชีพ จำนวนไม่น้อยกว่า | 7 | หน่วยกิต | ||
รหัส | ชื่อวิชา | น(ท-ป-ศ) | ||
SBT353 |
เตรียมฝึกประสบการณ์ทางนวัตกรรมชีวผลิตภัณฑ์ Preparation for Professional Experience in Biological Products Innovation |
1(0-7-5) | ||
SBT354 | ฝึกประสบการณ์ทางนวัตกรรมชีวผลิตภัณฑ์ General Biological Product Innovation Practice |
3(2-2-5) | ||
SBT360 | สหกิจศึกษาสาขาวิชานวัตกรรมชีวผลิตภัณฑ์
Cooperative Education in Biological Product Innovation |
6(6-4-0) | ||
SBT453 | ปัญหาพิเศษทางนวัตกรรมชีวผลิตภัณฑ์ Special Problems in Biological Products Innovation |
3(0-6-3) | ||
UBI101 | การสร้างและพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการใหม่ Building and Expanding Start-Ups’ Performance |
7(6-4-0) | ||
3) หมวดวิชาเลือกเสรี จำนวนไม่น้อยกว่า | 6 | หน่วยกิต |
ให้เลือกเรียนรายวิชาใด ๆ ในหลักสูตรมหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี โดยไม่ซ้ำกับรายวิชาที่เคยเรียนมาแล้ว และต้องไม่เป็นรายวิชาที่กำหนดให้เรียน โดยไม่นับหน่วยกิตรวมในเกณฑ์การสำเร็จหลักสูตรของสาขาวิชานี้
*** ข้อกำหนดเฉพาะ ในกรณีที่ศึกษาหลักสูตรระดับปริญญาตรีมาไม่น้อยกว่า 3 ปี และจำเป็นต้องยุติการศึกษา สามารถยื่นขอสำเร็จการศึกษาในระดับอนุปริญญาได้ โดยต้องศึกษารายวิชาไม่น้อยกว่า 90 หน่วยกิต ประกอบไปด้วยหมวดวิชาต่างๆ ดังนี้
1.หมวดวิชาศึกษาทั่วไป ไม่น้อยกว่า | 30 | หน่วยกิต | ||
---|---|---|---|---|
2.หมวดวิชาเฉพาะไม่น้อยกว่า | 45 | หน่วยกิต | ||
3.หมวดวิชาเลือกเสรี ไม่น้อยกว่า | 3 | หน่วยกิต |
สามารถศึกษาให้สำเร็จการศึกษาได้ภายใน 3 ปีครึ่ง
การจัดแผนการศึกษา
ชั้นปีที่ 1 ภาคการศึกษาที่ 1
หมวดวิชา | รหัสวิชา | ชื่อวิชา | หน่วยกิต |
---|---|---|---|
หมวดวิชาศึกษาทั่วไป | VGEXXX | หมวดวิชาศึกษาทั่วไป | 7 |
กลุ่มวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ฯ | SCH101 SBT101 SMS118 |
เคมีพื้นฐาน ชีววิทยาพื้นฐาน คณิตศาสตร์และสถิติพื้นฐาน |
3(2-2-5) 3(2-2-5) 3(2-2-5) |
กลุ่มวิชาเฉพาะ (บังคับ) | SBT112 | ความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมชีวผลิตภัณฑ์ | 3(2-2-5) |
รวมหน่วยกิต | 19 |
ชั้นปีที่ 1 ภาคการศึกษาที่ 2
หมวดวิชา | รหัสวิชา | ชื่อวิชา | หน่วยกิต |
---|---|---|---|
หมวดวิชาศึกษาทั่วไป | VGEXXX | หมวดวิชาศึกษาทั่วไป | 6 |
กลุ่มวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ฯ | SBT201 SBT202 SBT203 SBT204 |
พันธุศาสตร์ ปฏิบัติการพันธุศาสตร์ จุลชีววิทยา ปฏิบัติการจุลชีววิทยา |
3(3-0-6) 1(0-3-2) 3(3-0-6) 1(0-3-2) |
กลุ่มวิชาเฉพาะ (บังคับ) | SBT113 | เทคโนโลยีชีวภาพเพื่อการสร้างนวัตกรรม | 3(3-0-6) |
รวมหน่วยกิต | 17 |
ชั้นปีที่ 2 ภาคการศึกษาที่ 1
หมวดวิชา | รหัสวิชา | ชื่อวิชา | หน่วยกิต |
---|---|---|---|
หมวดวิชาศึกษาทั่วไป | VGEXXX | หมวดวิชาศึกษาทั่วไป | 6 |
กลุ่มวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ฯ | SBT215 SBT216 SBT217 SBT221 |
เทคโนโลยีการแปรรูปชีวผลิตภัณฑ์ ชีวผลิตภัณฑ์จากสัตว์ ชีวผลิตภัณฑ์จากพืช การควบคุมโดยกระบวนการชีวภาพ |
3(2-2-5) 3(2-2-5) 3(2-2-5) 3(2-2-5) |
กลุ่มวิชาเฉพาะ (บังคับ) | SBT220 | เทคโนโลยีและนวัตกรรมเครื่องดื่ม | 3(2-2-5) |
รวมหน่วยกิต | 21 |
ชั้นปีที่ 2 ภาคการศึกษาที่ 2
หมวดวิชา | รหัสวิชา | ชื่อวิชา | หน่วยกิต |
---|---|---|---|
หมวดวิชาศึกษาทั่วไป | VGEXXX | หมวดวิชาศึกษาทั่วไป | 8 |
กลุ่มวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ฯ | SBT218 SBT219 SBT314 |
ชีวผลิตภัณฑ์จากจุลินทรีย์ ชีวผลิตภัณฑ์เชิงสุขภาพและความงาม การควบคุมและการใช้เครื่องมือ |
3(2-2-5) 3(2-2-5) 3(2-2-5) |
กลุ่มวิชาเฉพาะ (บังคับ) | SBT222 | การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชเศรษฐกิจ | 3(2-2-5) |
รวมหน่วยกิต | 20 |
ชั้นปีที่ 3 ภาคการศึกษาที่ 1
หมวดวิชา | รหัสวิชา | ชื่อวิชา | หน่วยกิต |
---|---|---|---|
กลุ่มวิชาเฉพาะ (บังคับ) | SBT344 SBT347 SBT348 SBT349 SBT350 |
การท่องเที่ยวเชิงเกษตรและภูมิปัญญาท้องถิ่น เทคโนโลยีการแปรรูปชีวผลิตภัณฑ์ ชีวผลิตภัณฑ์จากสัตว์ ชีวผลิตภัณฑ์จากพืช การควบคุมโดยกระบวนการชีวภาพ |
3(2-2-5) 3(2-2-5) 3(2-2-5) 3(2-2-5) 3(2-2-5) |
กลุ่มวิชาปฏิบัติการและฝึกประสบการณ์วิชาชีพ | SBT353 | เตรียมฝึกประสบการณ์ทางนวัตกรรมชีวผลิตภัณฑ์ | 1(0-7-5) |
รวมหน่วยกิต | 16 |
ชั้นปีที่ 3 ภาคการศึกษาที่ 2
หมวดวิชา | รหัสวิชา | ชื่อวิชา | หน่วยกิต |
---|---|---|---|
กลุ่มวิชาเฉพาะ (บังคับ) | TID273 SBT346 |
ออกแบบบรรจุภัณฑ์ การบริหารผลิตภัณฑ์และการตลาดดิจิทัล |
3(2-2-5) 3(2-2-5) |
กลุ่มวิชาเฉพาะ (เลือก) | MGM206 SBT305 SBT352 |
การประกอบการธุรกิจชุมชน พันธุวิศวกรรม ภาวะผู้นำและการจัดการ |
3(3-0-6) 3(2-2-5) 3(3-0-6) |
กลุ่มวิชาปฏิบัติการและฝึกประสบการณ์วิชาชีพ | SBT354 | ฝึกประสบการณ์ทางด้านนวัตกรรมชีวผลิตภัณฑ์ | 3(2-2-5) |
รวมหน่วยกิต | 18 |
ชั้นปีที่ 4 ภาคการศึกษาที่ 1
หมวดวิชา | รหัสวิชา | ชื่อวิชา | หน่วยกิต |
---|---|---|---|
กลุ่มวิชาปฏิบัติการและฝึกประสบการณ์วิชาชีพ | SBT453 SBT360 UBI101 |
ปัญหาพิเศษทางนวัตกรรมชีวผลิตภัณฑ์ หรือ
สหกิจศึกษาสาขาวิชานวัตกรรมชีวผลิตภัณฑ์ หรือ การสร้างและพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการใหม่ |
3(3-0-6) 6(6-4-0) 7(6-4-0) |
รวมหน่วยกิต | 3 หรือ 6 หรือ 7 |
ชั้นปีที่ 4 ภาคการศึกษาที่ 2
หมวดวิชา | รหัสวิชา | ชื่อวิชา | หน่วยกิต |
---|---|---|---|
หมวดวิชาศึกษาทั่วไป | VGEXXX | หมวดวิชาศึกษาทั่วไป | 3 |
เลือกเสรี | xxxxxx | เลือกเสรี | 6(x-x-x) |
รวมหน่วยกิต | 9 |
ผลการเรียนรู้ กลยุทธ์การสอนและการประเมินผล
1.การพัฒนาคุณลักษณะพิเศษของนักศึกษา ประยุกต์รูปแบบ ABCD โมเดล เข้าสู่ระบบการศึกษา
คุณลักษณะพิเศษ | กลยุทธ์หรือกิจกรรมของนักศึกษา |
---|---|
1.1 มีความรู้พื้นฐานในศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรมชีวผลิตภัณฑ์ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติอยู่ในเกณฑ์ดี สามารถประยุกต์ได้อย่างเหมาะสมในการประกอบวิชาชีพและศึกษาต่อในระดับสูง | รายวิชาบังคับของหลักสูตรต้องปูพื้นฐานของศาสตร์และสร้างความเชื่อมโยงระหว่างภาคทฤษฎีและปฏิบัติ โดยใช้รูปแบบ Active learning คือ ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง สร้างการเรียนรู้ด้วยตนเองผ่านการเรียนรู้เชิงปฏิบัติจริง สร้างผลลัพธ์การเรียน เน้นการเรียนรู้แบบสืบค้นผ่าน Project Base Learning, Case Base Learning, Outdoor Learning โดยให้มีปฏิบัติการ แบบฝึกหัด โครงงาน และมีกรณีศึกษาให้นักศึกษาเข้าใจการประยุกต์องค์ความรู้กับปัญหาจริง |
1.2 มีความรู้ทันสมัย ใฝ่รู้ และมีความสามารถ พัฒนาความรู้ เพื่อพัฒนาตนเอง พัฒนางานและพัฒนาสังคม | รายวิชาเลือกที่เปิดสอนต้องต่อยอดความรู้พื้นฐานในภาคบังคับ และปรับตามวิวัฒนาการของศาสตร์ทางด้านนวัตกรรมชีวผลิตภัณฑ์ มีโจทย์ปัญหาที่ท้าทายให้นักศึกษาค้นคว้าหาความรู้ในการพัฒนาศักยภาพโดยใช้รูปแบบ Blended Learning คือ มีการจัดการเรียนรู้แบบผสมทั้งในห้องเรียนและการเรียนรู้ด้วยตนเองผ่านแผนการจัดการเรียนรู้และสื่อเรียนรู้ทั้งแบบ Class room และ Online process |
1.3 คิดเป็น ทำเป็น และเลือกวิธีการแก้ปัญหาได้อย่างเป็นระบบและเหมาะสม | รายวิชามีการใช้รูปแบบ Design Thinking for Learning Outcomes คือ นำกระบวนการคิดออกแบบมาใช้ในการพัฒนาแผนกิจกรรมการเรียนรู้ทั้งในระดับหลักสูตร รายวิชา และบทเรียน โดยมุ่งเน้นการสร้างผลลัพธ์การเรียนรู้ที่ก่อให้เกิดสมรรถนะที่พีงประสงค์อย่างต่อเนื่อง ต้องมีโจทย์ปัญหา แบบฝึกหัด หรือโครงงาน ให้นักศึกษาได้ฝึกคิด ฝึกปฏิบัติ ฝึกแก้ปัญหาแทนการท่องจำ |
1.4 มีความสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่น มีทักษะการบริหารจัดการและทำงานเป็นหมู่คณะ | มีการตั้งโจทย์ปัญหาและโครงงานของรายวิชาต่าง ๆ โดยรูปแบบกิจกรรม Collaborative Learning คือ การจัดให้ผู้เรียนเรียนรู้กับเพื่อน อาจารย์ และท้องถิ่นทั้งในและนอกห้องเรียนและสื่อ Online โดยผู้เรียนกับผู้สอนร่วมกันกำหนดประเด็นเรียนรู้ ผู้สอนเป็นผู้อำนวยการให้เกิดการเรียนรู้ มีการทำงานแบบคณะทำงาน แทนที่จะเป็นแบบงานเดี่ยว เพื่อส่งเสริมให้นักศึกษาได้ฝึกฝนการทำงานเป็นหมู่คณะ |
1.5 รู้จักแสวงหาความรู้ด้วยตนเองและสามารถติดต่อสื่อสารกับผู้อื่นได้เป็นอย่างดี | มีการมอบหมายงานให้นักศึกษาได้สืบค้นข้อมูล รวบรวมความรู้ที่นอกเหนือจากที่ได้นำเสนอในชั้นเรียน และเผยแพร่ความรู้ที่ได้ระหว่างนักศึกษาด้วยกัน หรือให้กับผู้สนใจภายนอก โดยรูปแบบ Active learning คือ ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง สร้างการเรียนรู้ด้วยตนเองผ่านการเรียนรู้เชิงปฏิบัติจริง สร้างผลลัพธ์การเรียน เน้นการเรียนรู้แบบสืบค้นผ่าน Project Base Learning, Case Base Learning, Outdoor Learning |
2.ความคาดหวังของผลลัพธ์การเรียนรู้เมื่อสิ้นปีการศึกษา (Program learning outcomes)
ปีการศึกษาที่ | ความคาดหวังของผลลัพธ์การเรียนรู้เมื่อสิ้นปีการศึกษา |
---|---|
1 | นักศึกษามีทักษะในการใช้เครื่องมือวิทยาศาสตร์เพื่อปฏิบัติงานในระดับธุรกิจท้องถิ่นหรือในโรงงานอุตสาหกรรม เพื่อสร้างผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพเป็นไปตามมาตรฐานได้แก่ด้านอาหาร อาหารเพื่อสุขภาพ และสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ |
2 | นักศึกษามีความเข้าใจในกระบวนการผลิตและแปรรูปอาหาร และผลิตภัณฑ์ มีแนวคิดที่สามารถใช้ทรัพยากรท้องถิ่นมาสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ หรือนวัตกรรมใหม่ๆ ร่วมกับชุมชนหรือท้องถิ่น |
3 | นักศึกษาสามารถบริหารวางแผน จัดการเพื่อสร้างรายได้ โดยสามารถที่จะเป็นผู้ประกอบการอิสระด้านผลิตภัณฑ์อาหาร หรืออาหารเพื่อสุขภาพ โดยสร้าง แบรนด์ของตนเองและมีจิตใจบริการ (Service Mind) ตลอดจนมีทักษะในการสื่อสารทางให้คำปรึกษาหรือพัฒนาผลิตภัณฑ์ |
4 | นักศึกษานำความรู้ด้านวิทยาศาสตร์พื้นฐานของงานในสายอาชีพ และความคิดสร้างสรรค์สร้างนวัตกรรมชีวผลิตภัณฑ์ของตนเองหรือสามารถพัฒนาของท้องถิ่น |
3.เกณฑ์การสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตร
เกณฑ์การสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตร ให้เป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยราชภัฏ วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี ว่าด้วยการจัดการศึกษาระดับอนุปริญญาและปริญญาตรี พ.ศ. 2557 และแก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2561 และ ฉบับที่ 3 พ.ศ. 2562 (ภาคผนวก ก)